"ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ" ของ ประวัติศาสตร์ไทย_(พ.ศ._2516–2544)

ส่วนใหญ่ของคริสต์ทศวรรษ 1980 เห็นกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยที่พลเอกเปรมเป็นผู้ควบคุมดูแล

ยุคพลเอกเปรม

ในเดือนเมษายน 2524 มีนายทหารชั้นผู้น้อยซึ่งเรียก "ยังเติร์ก" พยายามรัฐบาลโดยยึดกรุงเทพมหานคร คณะรัฐประหารยุบสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสัญญาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แต่กบฏล้มเหลวอย่างรวดเร็วเมื่อพลเอกเปรมรับรองพระบรมวงศานุวงศ์ไปยังนครราชสีมา เมื่อการสนับสนุนพลเอกเปรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรากฏชัดเจน กำลังฝ่ายรัฐบาลภายใต้พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เข้าควบคุมเมืองหลวงได้โดยไม่เสียเลือดเนื้อ

การเมืองบทนี้ยิ่งเพิ่มเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานภาพของพลเอกเปรมว่าค่อนข้างมีลักษณะสายกลาง ฉะนั้นจึงมีการประนีประนอมกัน การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ยุติลงและกองโจรส่วนใหญ่ได้รับนิรโทษกรรม ในเดือนธันวาคม 2525 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดรับธงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในพิธีการที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง นักรบคอมมิวนิสต์และผู้สนับสนุนส่งมอบอาวุธและสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาล

ขณะเดียวกัน มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งตั้งวุฒิสภาซึ่งมาจากการแต่งตั้งเพื่อคานกับสภาผู้แทนราษฎรซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง มีการจัดการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2526 ทำให้พลเอกเปรมในคราบนักการเมืองพลเรือน ได้ที่นั่งฝ่ายข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร (เป็นข้อตกลงที่ต่อมาเรียก "เปรมาธิปไตย")

พลเอกเปรมยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการปฏิวัติทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วซึ่งแผ่ไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังภาวะเศรษฐกิจถดถอยในกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญ และสินค้าผลิตอย่างชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สิ่งทอและรองเท้าเป็นสินค้าส่งออกหลักแทนข้าว ยางพาระและดีบุก เมื่อสงครามอินโดจีนและการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ยุติ การท่องเที่ยวมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและกลายเป็นรายได้สำคัญ ประชากรเมืองยังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ประชากรโดยรวมเริ่มเติบโตช้าลง ทำให้มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นแม้แต่ในพื้นที่ชนบท แม้ว่าภาคอีสานยังคงตามหลังภาคอื่น แม้ประเทศไทยไม่ได้เติบโตเร็วเท่ากับสี่เสือแห่งเอเชีย แต่ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี โดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอีกสองครั้งในปี 2526 และ 2529 และยังได้รับความนิยม แต่การฟื้นฟูประชาธิปไตยทำให้มีการเรียกร้องผู้นำที่กล้าได้กล้าเสียมากขึ้น ในปี 2531 การเลือกตั้งทำให้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรมปฏิเสธคำเชิญของพรรคการเมืองใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สาม

พลเอกสุจินดาและพฤษภาทมิฬ

พลเอกชาติชายปล่อยให้กลุ่มแยกหนึ่งของกองทัพร่ำรวยขึ้นจากสัญญาของรัฐ ทำให้เกิดกลุ่มแยกคู่แข่งนำโดยพลเอก สุนทร คงสมพงษ์, พลเอก สุจินดา คราประยูร และสมาชิกโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 มีรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 โดยกล่าวหารัฐบาลพลเอกชาติชายว่าฉ้อฉล ("รัฐบาลบุฟเฟ่ต์") คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองเรียกตนว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) รสช. แต่งตั้งอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือนซึ่งยังขึ้นกับทหาร มาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงและตรงไปตรงมาของเขาทำให้ได้รับความนิยม

มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม 2535 รัฐบาลผสมตั้งพลเอก สุจินดา คราประยูรเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยให้คำสัตย์ว่าจะไม่รับตำแหน่ง และยืนยันข้อสงสัยของสาธารณชนว่ารัฐบาลใหม่จะเป็นรัฐบาลทหารแฝงตัวมา การกระทำของเขาทำให้มีประชาชนหลายแสนคนเดินขบวนในกรุงเทพมหานคร นำโดย อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พลตรี จำลอง ศรีเมือง นับเป็นการเดินขบวนใหญ่สุดในกรุงเทพมหานคร

พลเอกสุจินดานำหน่วยทหารที่ภักดีต่อเขาโดยตรงเข้าสู่กรุงเทพมหานครและพยายามปราบปรามการเดินขบวนด้วยกำลัง ทำให้เกิดการสังหารหมู่และการจลาจล ซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าแทรกแซงโดยท่รงเรียกพลเอกสุจินดาและพลตรีจำลองเข้าเฝ้าโดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และทรงให้ทั้งสองหาทางออกอย่างสันติ หลังจากนั้น พลเอกสุจินดาลาออก

ใกล้เคียง

ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสนาพุทธ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์จีน ประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์สหรัฐ ประวัติศาสตร์สเปน ประวัติศาสตร์เยอรมนี ประวัติการบินไทย